VDO clip การฟื้นฟู

บอกเล่าสภาพการฟื้นฟูในปัจจุบันด้วยวีดีโอ

นับจากวันที่ผู้เขียนป่วยด้วยโรคเส้นเลือดสมองตีบ และเข้ารับการรักษาและทำกายภาพบำบัด ผู้เขียนมีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ แต่การจะอธิบายว่าดีในระดับใดนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะการฟื้นฟูนี้ไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน

ในวันที่ครบ 3 เดือนหลังจากล้มป่วย ผู้เขียนได้ถ่ายวีดีโอเพื่อบันทึกสภาพการเดินของตนเองเก็บไว้ เพราะน่าเป็นวิธีที่จะอธิบายพัฒนาการในขณะนั้นได้ดีที่สุด


 
การเดินในเดือนที่ 2 สัปดาห์ที่ 4

เป็นการเดินฟรีแฮนด์ (ไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงตัว) จากโรงฝึกไปยังหอพักผู้ป่วย
ระยะทางประมาณ 200 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 7 นาที
พื้นถนนเป็นทางราบ แต่มีทางลาดชันเป็นบางช่วง

ลักษณะการเดินยังเป็นการลากขา งอเข่าซ้ายน้อย
บางคร้งก้าวท้าวไม่ออก
เนื่องจากแขนซ้ายยังมีอาการเกร็ง จึงอยู่ในท่างอข้อศอกซ้าย
ไม่สามารถปล่อยห้อยลง หรือแกว่งแขนได้เหมือนกับการเดินตามปกติ


 
การเดินในเดือนที่ 3 สัปดาห์ที่ 2
เป็นการเดินทางราบ ระยะทางประมาณ 120 เมตร ใช้เวลา 4 นาทีเศษ
มีราวจับทั้ง 2 ฝั่ง เหมาะสมกับการฝึกเดิน

การเดินมีการงอเข่าซ้ายได้ดีขึ้น
แต่แขนซ้ายยังมีอาการเกร็งอยู่ และยังมีการเดินลากขาเป็นบางช่วง

แต่โดยรวมถือว่าการเดินดีขึ้นกว่า 2 สัปดาห์ก่อน


 
การเดินในเดือนที่ 3 สัปดาห์ที่ 3
เป็นการเดินบนเส้นทางเดิม ใช้เวลา 4 นาที ซึ่งเร็วกว่าสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย

สภาพการเดินไม่แตกต่างจากสัปดาห์ที่แล้วมากนัก
แต่การเดินมีความมั่นคงมากขึ้น และเดินงอเข่าซ้ายได้ดีขึ้น


ที่นี่ .. เร็วๆนี้ ..
 
การเดินในเดือนที่ 3 สัปดาห์สุดท้าย
เป็นการเดินบนเส้นทางเดิม
แต่ 3-4 วันนี้ ใช้เวลาไม่ถึง 3 นาที คือเดินได้รวดเร็วขึ้นอย่างผิดหูผิดตา
เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ที่แล้วซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 นาที

สาเหตุที่ทำให้เดินได้เร็วขึ้น อาจมีหลายประการ เช่น
  • ออกกำลังโดยการทำกายภาพบำบัดต่อเนื่องทุกวัน
  • ฝึกเดินทุกวัน วันละกว่า 1 กิโลเมตร ตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นต้น
จึงทำให้กำลังขาและการทรงตัวดีมากขึ้น จึงพยายามที่จะปรับท่าเดินใหม่ให้เดินได้เร็วขึ้น ซึ่งก็ถือว่าทำได้สำเร็จในขั้นหนึ่ง


 
การฝึกมือข้างที่อ่อนแรง (1)
  1. ฝึกการหมุนสิ่งของในมือ
    เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะต้องขยับนิ้วมือแยกกันได้อย่างอิสระ
    เริ่มทำได้ประมาณปลายเดือนที่ 2 และทำได้คล่องขึ้นในกลางเดือนที่ 3
  2. ฝึกพลิกเหรียญ
    เป็นงานที่ยากและท้าทายมากที่สุดในบรรดาการฝึกพลิกของบนโต๊ะ
    เพราะเหรียญมีขนาดเล็ก บาง กลมเกลี้ยง และลื่น
    การจะทำได้คล่อง นอกจากจะต้องฝึกจนชำนาญแล้ว ที่สำคัญคือจะต้องมีเล็บมือด้วย


 
การฝึกมือข้างที่อ่อนแรง (2)

ฝึกหยิบจับของขนาดเล็กมากๆ คือ ท่อพลาสติกขนาด 5x5 มิลลิเมตร

การหยิบจับของชิ้นเล็กมากๆ จะต้องฝึกนิ้ว 2 ข้างให้กดกันได้ชิดถึงปลายนิ้ว

ทดลองทำครั้งแรกกลางเดือนที่ 3 และสามารถทำได้ในครั้งนั้นเลย

อุปกรณ์นี้ยังเป็นการฝึกสมาธิ และความอดทนด้วย
เพราะมีจำนวนกว่า 500 ชิ้น ใช้เวลาทำนานกว่า 2 ชั่วโมง


ที่นี่ .. เร็วๆนี้ ..
 
Video ตอนต่อๆไป
  • การฝึกเดินขึ้นลงบันได โดยไม่จับราว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น