บันทึกการฟื้นฟู (2)

บันทึกการฟื้นฟูอาการอัมพาตครึ่งซีก (ตอนที่ 2)

ขออภัย !! อยู่ระหว่างการปรับปรุง

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2554
  • วันนี้เป็นวันที่จะย้ายเข้าไปเป็นผู้ป่วยในที่ศูนย์ฯแห่งที่ 2
  • เนื่องจากได้รับแจ้งว่าให้เดินทางไปถึงก่อน 08:30 น. จึงรีบไปถึงแต่เช้ากอน 08:00 น.
  • ขั้นตอนการ Admit เสียเวลาพอสมควร เพราะต้องเจาะเลือด รอผลเลือด รอพบแพทย์ ซึ่งเสร็จขั้นตอนทุกอย่างและได้เข้า admit เป็นผู้ป่วยใน เมื่อเวลาประมาณ 13:00 น.
  • วันนี้จึงไม่มีการฝึกใดๆ
  • ตอนค่ำประมาณ 19:30 น. มีการสวดมนต์หมู่ ก็ถือเป็นโอกาสดีเพราะผู้เขียนไม่ค่อยจะมีโอกาสเข้าวัดสวดมนต์ซักเท่าไร

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2554
  • วันนี้เริ่มทำการฝึกเป็นวันแรก จึงยังขลุกขลักเรื่องการเดินเอกสารพอสมควร
  • ศูนย์แห่งนี้มีการฝึกหลายชนิด โดยใช้เวลาฝึกชนิดละประมาณ 1 ชั่วโมง เช่น
  • กายภาพบำบัดและฝึกเดิน
  • ฝึกการใช้มือและแขน
  • ฝึกพูดและกลืนกิน
  • ฝึกการใช้รถเข็น
  • ฝึกการช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวัน
  • กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาสภาพจิตใจของผู้พิการ
  • ฝึกเดินโดยหุ่นยนต์ เป็นต้น
  • ผู้เขียนได้รับการจัดกิจกรรมเพียงวันละ 2 ชนิด คือ
  • กายภาพบำบัด ฝึกเคลื่อนไหวข้อต่อและออกกำลังกายกล้ามเนื้อแขนขาประมาณ 40 นาที และฝึกเดินประมาณ 20 นาที
  • กิจกรรมบำบัด ฝึกการใช้แขน มือ นิ้ว โดยทำกิจกรรม 6 ชนิด ชนิดละ 10 นาที เช่น ปั่นจักรยานมือ และหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
  • ช่วงบ่ายไม่มีการฝึกอะไร จึงต้องฝึกเดินตามลำพัง โดยใช้ถุงทรายถ่วงน้ำหนักที่ข้อเท้าข้างละ 2.5 ปอนด์ และฝึกเดินทางราบ และขึ้นลงทางลาดชัน รวมระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

วันพุธที่ 10 - วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2554
  • เนื่องจากโปรแกรมการฝึกกายภาพบำบัดสั้นมาก จึงขอออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาเพิ่มเติม เช่น การปั่นจักรยาน และการเหยียดเข่ายกน้ำหนัก ประมาณ 45 นาที
  • ตอนบ่ายฝึกเดินเหมือนกับเมื่อวาน แต่เพิ่มเวลาเป็น 2 ชั่วโมง
  • วันพฤหัสทำการประเมินความสามารถในการใช้มือและนิ้ว ทั้งข้างที่มีแรงและไม่มีแรง โดยให้ทำกิจกรรม 5-6 อย่าง และจับเวลา เช่น
  • วาดรูปทางเรขาคณิต เช่น เส้นตรง วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นต้น
  • เป็นครั้งแรกหลังจากล้มป่วยที่จับปากกาเขียนด้วยมือซ้าย จึงทำให้เส้นตรงกลายเป็นกิ้งกือ วงกลมกลายเป็นพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
  • วันหยุดเสาร์อาทิตย์ ทดลองใช้มือซ้ายเขียนใหม่อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ค่อยดูเป็นผู้เป็นคนขึ้นบ้าง
  • กำกระป๋องสังกะสี แบบที่ใส่น้ำและไม่ใส่น้ำ แล้วยกข้ามสิ่งกีดขวาง
  • หยิบของชิ้นเล็กๆ ข้ามสิ่งกีดขวาง และใส่ลงในกระป๋อง
  • ใช้ช้อนตักของชิ้นเล็กๆ  ข้ามสิ่งกีดขวาง และใส่ลงในกระป๋อง
  • พลิกกระดาษ
  • พลิกสิ่งของขนาดเล็ก เช่น ฝาเบียร์ คลิป และเหรียญบาท
  • เรื่องนี้ก็ไม่เคยทำมาก่อนเช่นกัน ฝาเบียร์และคลิปไม่ยากอะไร แต่เหรียญบาทนี่ยากสุดๆ เพราะการจะพลิกเหรียญบาทที่วางอยู่บนโต๊ะ แม้จะใช้มือขวาข้างที่ถนัด ก็ยังต้องใช้เล็บมือช่วย แต่นี่เป็นมือซ้ายที่ไม่ถนัดและไม่มีแรง แถมเล็บก็ตัดซะสั้นสุดๆ เหรียญแรกโชคดีพลิกได้ด้วยความบังเอิญในเวลาเพียงไม่กี่สิบวินาที แต่เหรียญที่สองปลุกปล้ำกันอยู่นานก็ยังไม่สำเร็จ จนปลายนิ้วเริ่มชา จะยอมแพ้อยู่แล้ว แต่สุดท้ายก็ทำเสร็จจนได้โดยใช้เวลามากกว่า 5 นาที ...หุหุ...
  • วันหยุดเสาร์อาทิตย์รู้สึกข้องใจเรื่องพลิกเหรียญเป็นอย่างมาก ก็เลยลองทำดูใหม่ ซึ่งถ้าจับจุดได้ ก็ไม่ค่อยยากเท่าไร ทำได้โดยใช้เวลาประมาณ 10 วินาที
  • การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์ใดไม่ทราบแน่ชัด แต่เดาว่า
  • วัดระดับความสามารถของผู้ป่วย เพื่อนำไปจัดโปรแกรมการฝึกที่เหมาะสม หรือ
  • เพื่อเปรียบเทียบกับการประเมินครั้งต่อๆไปว่าผู้ป่วยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่อย่างไร
  • ตอนค่ำประมาณเกือบ 3 ทุ่ม แพทย์มาฝังเข็มให้ที่ห้อง รวม 18 เข็ม คงถือว่าเยอะ เพราะต้องกระตุ้นหลายอย่าง หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ หัวเข่า ข้อเท้า

วันศุกร์ที่ 12 - วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2554
  • เป็นวันหยุดยาว 3 วัน และไม่มีการฝึกใดๆ แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยออกไปพักค้างคืนที่บ้าน จึงต้องนอนอยู่ที่ศูนย์ทั้ง 3 วัน
  • ยืมอุปกรณ์การฝึกมือมา 5 ชนิด เพื่อฝึกเองในห้อง
  • 3 วันนี้ จึงต้องฝึกกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดเอง โดย
  • เคลื่อนไหวข้อต่อและออกกำลังกายกล้ามเนื้อแขนขา วันละ 1-2 ชั่วโมง
  • ฝึกการใช้มือและนิ้วโดยใช้อุปกรณ์ที่ยืมมา วันละ 3-4 ชั่วโมง
  • ฝึกเดินวันละ 2 รอบ เช้าบ่าย รอบละ 1-1.5 ชั่วโมง
  • วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2554
  • ฝึกกิจกรรมบำบัดและกายภาพบำบัดในช่วงเช้า อย่างละ 1 ชั่วโมงเหมือนเดิม จากนั้นฝึกเดินตามลำพังอีก 45 นาที
  • ตอนบ่ายไม่มีอะไรทำ ก็เลยฝึกเดินอีกประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ
  • ตอนเย็นไปปรึกษากับครูฝึกกิจกรรมบำบัดว่า การฝึกเพียงวันละ 1 ชั่วโมงไม่เพียงพอ ครูฝึกใจดีมาก ทุกเย็นหลังเลิกงานจะอนุญาตให้ยืมอุปกรณ์การฝึกมือและนิ้วไปฝึกที่ห้องได้ทุกวัน Lucky! ขอบคุณจริงๆ
  • มือขวาพิมพ์คอม เขียนเว็บ พอเริ่มเมื่อย ก็ใช้มือซ้ายฝึกหยิบจับสิ่งของ สลับกันไปมา เพลิดเพลินได้ทั้งคืน
  • ประมาณ 3 ทุ่ม แพทย์มาฝังเข็มที่ห้องให้เป็นครั้งที่สอง ครั้งนี้ 13 เข็ม เน้นเฉพาะส่วนที่ยังเคลื่อนไหวไม่คล่อง คือ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ หัวเข่า และข้อเท้า

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2554
......................
......................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น