บันทึกการฟื้นฟู (1)

บันทึกการฟื้นฟูอาการอัมพาตครึ่งซีก (เดือนที่ 1 - เดือนที่ 3)

สัปดาห์ที่ 1 : โรงพยาบาล
  • แพทย์สั่งให้นอนพักมากๆ จึงแทบจะไม่ได้ทำกายภาพบำบัดใดๆ
  • ปลายสัปดาห์เริ่มออกกำลังกายแขนและขาซีกที่ไม่มีแรง ในท่านอน
    • ยกขาขึ้นจากเตียงในท่าเหยียดหัวเข่า วันละหลายครั้ง ครั้งละ 4-5 นาที รวมประมาณ 30 นาที
    • ชูแขนขึ้นเหนือศีรษะ แต่ถ้าอ่อนแรงก็ใช้วิธีประสานมือแล้วเหยียดขึ้นเหนือศีรษะ วันละหลายครั้ง ครั้งละ 4-5 นาที รวมประมาณ 30 นาที
    • กำลูกเทนนิส วันละ 5-10 นาที (ยังแบมือหรือขยับนิ้วไม่ได้)

สัปดาห์ที่ 2 : โรงพยาบาล
  • ต้นสัปดาห์มีไข้สูง 2-3 วัน จึงลดเวลาออกกำลังกายแขนขาเหลือน้อยลง
  • ออกกำลังแขนข้างที่ไม่มีแรง โดยการนั่งท้าวแขน แล้วกดน้ำหนักไปยังแขนข้างนั้น แต่ต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งที่มีแรงช่วยพยุงข้อศอกไม่ให้พับ
  • ออกกำลังขาโดยการนอนชันหัวเข่าและกดน้ำหนักลงบนฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้าง แล้วยกก้นให้ลอยขึ้นจากพื้น
  • ปลายสัปดาห์ วันสุดท้ายก่อนจะออกจากโรงพยาบาลได้มีโอกาสฝึกกายภาพบำบัดประมาณ 40 นาที
    • ฝึกการเดินโดยใช้ราวจับประมาณ 5 นาที
    • ฝึกวิธีการเดินโดยใช้ไม้เท้าประมาณ 10 นาที
    • ฝึกวิธีพลิกตัวเพื่อลุกขึ้นนั่งบนเตียง
      • นอนตะแคงตัวไปด้านที่มีแรง
      • ห้อยเท้าทั้ง 2 ข้างลงบนพื้น (หากไม่มีแรงยกขาข้างที่อ่อนแรง ก็ให้ใช้ปลายเท้าด้านที่มีแรงช่วยเกี่ยวขาให้ลงมา)
      • ใช้ข้อศอกด้านที่มีแรง ยันตัวให้ลุกขึ้นนั่งบนเตียง
      • หรือจะใช้วิธีนอนตะแคงไปด้านที่ไม่มีแรงก็ได้ (รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากหัวข้อ กิจกรรมบำบัด : การฝึกลุกนั่ง)
    • ฝึกท่ากายภาพบำบัด 3 ท่า คือ
      • เหยียดเข่าและยกขา
      • ใช้หมอน 3 เหลี่ยมรองใต้หัวเข่า แล้วยกปลายเท้าให้ขนานกับพื้นเตียง
      • เหยียดแขนและชูข้ามศีรษะให้สุดอีกฟากหนึ่ง
  • วันหยุดสุดสัปดาห์กลับมาพักที่บ้าน โดยเน้นการฝึกลุกขึ้นยืนและนั่งลงบนเตียง การฝึกยืนเป็นเวลานานๆ และการหัดเดินโดยใช้ไม้เท้า

สัปดาห์ที่ 3 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • เริ่มเข้าฝึกที่ศูนย์ฯเป็นวันแรก แต่เนื่องจากต้นสัปดาห์เป็นวันหยุดยาว และปลายสัปดาห์เป็นวันจัดกิจกรรมพิเศษของศูนย์ฯ สัปดาห์นี้จึงมีเวลาฝึกจริงเพียง 1.5 วัน
  • ฝึกการลงน้ำหนักบนขาข้างที่ไม่มีแรง
    • เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เนื่องจากผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกมักจะไม่กล้ายืนลงน้ำหนักบนขาข้างที่อ่อนแรง ดังนั้น เมื่อฝึกเดิน จึงจะเดินลากเท้า แทนที่จะเป็นการเดินยกเท้า และในระยะยาวอาจติดนิสัยเดินขากระเผลก
    • ขั้นตอนในการฝึกคือ
      • ยืนในท่าปกติ แล้วยกเท้าข้างที่มีแรงก้าวขึ้นไปเหยียบบนลังไม้เตี้ยๆ (สูงประมาณ 10 ซม.) และกดน้ำหนักลงบนลังไม้ประมาณ 4-5 วินาที
      • จากนั้นยกเท้ากลับลงมาที่เดิม และทำซ้ำใหม่ประมาณ 20-30 ครั้ง
      • ประเด็นสำคัญคือการยกเท้าขึ้นและลง ต้องทำอย่างช้าๆ และนิ่มนวล ยิ่งยกเท้าได้ช้าและนิ่มนวลมากเท่าไร ยิ่งแปลว่ากล้าทิ้งน้ำหนักลงบนขาข้างที่ไม่มีแรง
      • การฝึกบ่อยๆ จนเคยชิน จะทำให้สามารถยกเท้าได้ทั้ง 2 ข้างได้อย่างเท่าเทียมกัน (หรือใกล้เคียงกัน) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกเดินในระยะต่อไป
  • ฝึกการลุกนั่งที่ถูกต้อง ซึ่งต้องไม่ออกแรงที่เอวหรือข้อมือมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในภายหลัง
  • ฝึกให้นั่งยืดอกตัวตรง
    • ความจริงนี่ไม่ได้เรียกว่าการฝึก แต่เป็นคำเตือนที่มีผลกับจิตใจของผู้เขียนมาก เพราะการนอนป่วยอยู่ 2-3 สัปดาห์ในลักษณะกึ่งอัมพาต ทำให้ผู้เขียนนั่งไหล่ตกหลังงอโดยไม่รู้ตัว
    • คำเตือนนี้ จึงเปรียบเสมือนสิ่งที่คอยเตือนใจผู้เขียนให้มีสติอยู่ตลอดเวลา คืออย่างน้อยที่สุด ยามนั่งก็ต้องนั่งยืดอกตัวตรง ยามลุกขึ้นยืนหรือจะฝึกเดินก็ต้องเงยหน้ายืดอก และยามฝึกก็ต้องฝึกด้วยความตั้งใจ
  • เคลื่อนไหวข้อต่อซีกล่าง (สะโพก หัวเข่า ข้อเท้า) และข้อต่อซีกบน (หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ) รวมประมาณ 50 นาที โดยครูฝึก (นักกายภาพบำบัดหรือผู้ช่วย) เป็นผู้ทำให้
  • ปั่นจักรยานเท้า 20-30 นาที โดยต้องใช้สายยางรัดข้อเท้าไว้กับคันถีบ
  • ฝึกกระดกข้อเท้า 20 นาที โดยใช้เครื่องกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
  • ฝึกเดินโดยใช้ไม้เท้า 20 นาที แต่เนื่องจากยังกระดกข้อเท้าไม่ได้จึงต้องใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยพยุงข้อเท้าให้ยกขึ้นจากพื้นขณะที่ก้าวเดิน
  • ดัดมือและนิ้วเพื่อคลายอาการเกร็ง 20 นาที โดยใช้ putty
  • ฝึกการกำมือ แบมือ จีบนิ้ว 30 นาที โดยใช้ putty
  • ฝึกการหยิบลูกเทนนิส 20 นาที
  • ปั่นจักรยานมือ โดยใช้แขนที่ไม่มีแรงข้างเดียว 20 นาที แต่ยังต้องใช้ผ้าก๊อสพันข้อมือไว้กับคันถีบ เพราะยังไม่มีแรงกำ
  • ทดสอบสมาธิ และสติสัมปชัญญะ (ครั้งแรกครั้งเดียว)
  • สอนวิธีการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น การนอนพลิกตัว การลุกนั่ง การยืน การเปลี่ยนเสื้อผ้า เป็นต้น
    • การใส่เสื้อและกางเกง ต้องใส่จากแขนและขาข้างที่ไม่มีแรงก่อน
    • การถอดเสื้อและกางเกง ต้องถอดจากแขนและขาข้างที่ไม่มีแรงก่อน
  • สอนวิธีบริหารกล้ามเนื้อปากและลิ้น เพื่อแก้ปัญหามุมปากตก (ปากเบี้ยว) และน้ำลายไหลจากมุมปาก โดยให้ไปฝึกต่อเองเมื่อมีเวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์
    • อ้าปากกว้างๆ และเปล่งเสียงพูดคำว่า "อา" "อู" "อี" คำละ 5 วินาที ทำซ้ำประมาณ 20-30 ครั้ง
    • ออกกำลังใช้ลิ้นดันกระพุ้งแก้มด้านซ้ายและด้านขวา ข้างละ 5 วินาที ทำซ้ำประมาณ 20-30 ครั้ง
    • แลบลิ้นให้สุด ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วหดลิ้นกลับไป ทำซ้ำประมาณ 20-30 ครั้ง
  • วันหยุดสุดสัปดาห์กลับมาฝึกต่อที่บ้าน โดยเน้นเรื่อง
    • การเดินด้วยไม้เท้า
    • การทิ้งน้ำหนักลงบนขาข้างที่ไม่มีแรง ด้วยการยกเท้าข้างที่มีแรงก้าวขึ้นลงกับขอบเตียงซึ่งสูงประมาณ 40 ซม. ต้องใจกล้านิดหน่อย แต่ถึงจะหกล้ม ก็คงล้มไปบนเตียง ไม่น่าเป็นอะไร
    • เพิ่มแรงบีบมือโดยการกำลูกยางเล็กๆไว้ในอุ้งมือ

สัปดาห์ที่ 4 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ฝึกต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยปรับโปรแกรมเล็กน้อย เช่น
    • ปั่นจักรยานมือ โดยไม่ต้องใช้ผ้าพันข้อมือกับคันถีบ แต่ให้ออกแรงกำคันถีบเอง แต่ก็ยังหลุดมือบ่อยครั้ง
    • ฝึกการทรงตัว โดยนอนชันเข่า ใช้ขาเหยียบอยู่บน Balance ball (เล็ก) แล้วยกก้นขึ้นจากเตียง 10 วินาที x 30 ครั้ง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการฝึกการทรงตัวที่จะเป็นประโยชน์ในการเดิน
    • เพิ่มการฝึกกระดกข้อมือ 20 นาที โดยใช้เครื่องกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
    • ฝึกท่วงท่าการเดินให้ดูดีขึ้น เช่น การงอเข่า ยกเท้า สืบเท้า ทรงตัว และการถ่ายน้ำหนัก เป็นต้น
  • เริ่มกำมือได้บ้างแล้ว แต่เป็นการกำพร้อมกันทั้ง 5 นิ้ว ยังแบมือ หรือแยกนิ้วไม่ได้ จึงพอจะเริ่มหยิบลูกเทนนิสได้ แต่เมื่อเวลาจะปล่อย ยังไม่สามารถแบมือ จึงต้องค่อยๆคลายแรงบีบในมือ ให้ลูกบอลหลุดจากมือไปเอง
  • การกำมือ วัดแรงบีบได้ 6 กิโลกรัม คือเท่ากับประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กอายุ 6 ขวบ
  • เมื่อเริ่มกำมือได้ จึงเพิ่มโปรแกรมการฝึกมือ เช่น
    • กำมือหยิบของชนิดต่างๆ และขนาดต่างๆ เช่น ลูกกอล์ฟ ลูกตะกร้อ เป็นต้น
    • กำมือหยิบของและเหยียดแขนขึ้นให้สุดหัวไหล่
    • กำมือหยิบจับของโดยใช้ถุงทรายหนัก 2-3 ปอนด์ มัดที่ข้อมือ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อแขนให้มีความทนทานเพิ่มขึ้น
กราฟแสดงค่าเฉลี่ยแรงบีบมือของคนญี่ปุ่น แยกตามเพศและอายุ
  • วันหยุดสุดสัปดาห์กลับมาฝึกต่อที่บ้าน โดยหัดเดินโดยไม่ใช้ไม้เท้า เพราะคิดว่าน่าจะทำได้ โดยไม่ได้ปรึกษาครูฝึกไว้ก่อน
  • การฝึกเดินมือเปล่า ต้องจัดห้องใหม่ ให้ข้างหนึ่งเป็นเตียง และอีกข้างหนึ่งเป็นฝาผนัง เพราะหากจะล้ม ก็คงไม่น่าจะเป็นอะไรมาก
  • ต้องถือว่าโชคดีมากที่ไม่ล้ม และเดินได้ช้าๆ โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้า จึงฝึกเดินมือเปล่าทั้งวันทั้งคืน

สัปดาห์ที่ 5 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ฝึกต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยปรับโปรแกรมเพิ่มเติม เช่น
    • ฝึกเดินโดยไม่ใช้ไม้เท้า (ฟรีแฮนด์)
    • เพิ่มการฝึกงอข้อมือ 20 นาที โดยใช้เครื่องกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
    • ฝึกการทรงตัวในท่านอน โดยเปลี่ยนจากการใช้ Balance ball (เล็ก) เป็นการใช้ลูกบอลล์ขนาดใหญ่ (45 ซม.?) โดยนอนเหยียดขาพาดบนลูกบอล และยกก้นให้สูงจากพื้น 10 วินาที x 30 ครั้ง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการฝึกการทรงตัวที่จะเป็นประโยชน์ในการเดินเช่นกัน
  • การปั่นจักรยานมือด้วยมือข้างเดียว ทำให้แรงบีบของมือเพิ่มขึ้นมาก แต่เนื่องจากเป็นการปั่นมือเดียว จึงต้องออกแรงหนักมาก ต้องเกร็งทั้งข้อมือและท้องแขน (คล้ายๆกับการเบ่งกล้าม) ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้คิดอะไรมาก นึกว่าดีซะอีกที่ได้ฝึกการออกกำลังข้อมือและแขนไปพร้อมๆกัน
  • เริ่มแบมือได้ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่สำคัญมาก
  • แรงบีบมือเพิ่มขึ้นเป็น 10 กิโลกรัม หรือเท่ากับเด็กอายุ 6 ขวบ ซึ่งแรงบีบขนาดนี้สามารถกำขวดเพื่อเปิดฝาเครื่องดื่มบำรุงประเภทซุปไก่หรือรังนกได้
  • เพิ่มอุปกรณ์ต่างๆในการฝึกมือ เช่น แท่งกรวยปักหลัก หมุดปักหลัก ตัวหนีบ เป็นต้น
  • ปลายสัปดาห์ หมอเวรและแพทย์เจ้าของไข้แจ้งว่า อาการของผู้เขียนดีขึ้นมากแล้ว และอาชีพของผู้เขียนก็ไม่ต้องใช้แขนขาข้างที่อ่อนแรงมากนัก จึงมีความเห็นว่าผู้เขียนน่าจะออกจากศูนย์ฯ เพื่อกลับไปทำงานในอีก 1-2 สัปดาห์หน้า
  • ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความเห็นของแพทย์ เนื่องจากเพิ่งป่วยได้เพียง 5 สัปดาห์ ยังอยู่ในระยะฟื้นฟูของโรคเส้นเลือดสมอง และตลอด 2 สัปดาห์ที่ฝึกที่ศูนย์ฯ ก็มีพัฒนาการต่อเนื่องมาโดยตลอด จึงยังมีโอกาสจะฟื้นฟูสมรรถภาพให้กลับคืนมาได้อีกมาก
  • ผู้เขียนเข้ามาฝึกที่ศูนย์ฯแห่งนี้ และตั้งใจฝึกอย่างจริงจัง เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพที่สูญเสียไป ให้กลับมาได้มากที่สุดและดีที่สุด ไม่ใช่เข้ามาเพื่อฝึกเพียงครึ่งๆกลางๆ แค่พอที่จะกลับไปทำงานได้เท่านั้น
  • วันหยุดสุดสัปดาห์กลับมาฝึกต่อที่บ้าน โดยยังคงเน้นเรื่องการฝึกเดินมือเปล่า และฝึกกำมือแบมือ

สัปดาห์ที่ 6 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ฝึกต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเพิ่มเวลาการปั่นจักรยานมือและจักรยานขาให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มแรงและความทนทานให้กับกล้ามเนื้อมือและขา
  • แรงบีบมือเพิ่มขึ้นเป็น 13 กิโลกรัม หรือเท่ากับเด็กผู้ชายอายุ 8 ขวบ
  • อาการเกร็งที่ท้องแขน เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก โดยเฉพาะเวลาเดิน หากตั้งใจจะเดินให้ดี แขนจะเกร็ง เอ็นที่ท้องแขนจะหดตัวดึงให้ข้อศอกงอขึ้น คือเดินปล่อยแขนให้ห้อยลงพื้นแบบปกติที่เคยทำไม่ได้
  • ครูฝึกบอกว่า อาการเกร็งนี้ ไม่มีวิธีบำบัด ต้องค่อยๆปล่อยให้หายไปเอง
  • การฝึกเดินที่โรงฝึกในอาทิตย์นี้ เริ่มติดๆขัดๆ เพราะจะเกร็งแขนอยู่ตลอด จึงต้องใช้ตอนเย็นหลังจากฝึกเสร็จ มาฝึกเดินต่อที่ห้องพักวันละ 1-2 ชั่วโมง ซึ่งก็แปลกที่ว่าเวลาเดินในห้องพักคนเดียวจะเดินได้ดี ไม่ค่อยมีอาการเกร็ง การตั้งใจที่ต้องการจะเดินให้ดีเดินให้สวยมากเกินไป จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเกร็งด้วยก็ได้
  • ปลายสัปดาห์ หมอเวรแจ้งเป็นครั้งที่สองว่า ข้าพเจ้าน่าจะออกจากศูนย์ฯ เพื่อกลับไปทำงานได้แล้ว เนื่องจากอาการดีขึ้นกว่าผู้ป่วยรายอื่นมาก หากรีบออกไปตอนนี้จะได้บุญกุศล เพราะยังมีผู้ป่วยที่รอเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูที่ศูนย์ฯ แห่งนี้อีกมาก
  • ผู้เขียนคิดในใจว่า เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับบุญกุศลอะไร หากหมอเวรเห็นว่า การกลับไปทำงานในสภาพเช่นนี้ จะทำให้อาการของผู้เขียนดีขึ้นกว่าการฝึกต่อที่ศูนย์ ผู้เขียนก็เต็มใจที่จะออกจากศูนย์ฯ ในวันนี้ทันที

สัปดาห์ที่ 7 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • แรงบีบมือเพิ่มขึ้นเป็น 18 กิโลกรัม หรือเท่ากับเด็กผู้ชายอายุ 10 ขวบ
  • พี่เลี้ยงซึ่งจ้างมาจากศูนย์ดูแลผู้ป่วยให้ดูแลผู้เขียน ได้ยินหมอพูดว่าข้าพเจ้าคงต้องออกจากศูนย์ในเร็วๆนี้ จึงกลัวตกงาน และชิงลาออกไปในวันที่ได้รับเงินเดือน คือวันที่ทำงานครบ 1 เดือนพอดี
  • สัปดาห์นี้จึงต้องช่วยเหลือตัวเองตามลำพัง ซึ่งส่วนใหญ่ก็พอจะทำได้ ยกเว้นอย่างเดียวที่ทำไม่ได้คือ การเดินหรือนั่งรถเข็นจากห้องพักผู้ป่วยไปยังโรงฝึก ซึ่งอยู่ไกลกันถึง 150 เมตร และยังมีทางลาดเอียงอีกด้วย
  • ท้องแขนมีอาการเกร็ง ทำให้เดินไม่ถนัด ตอนที่เกร็งมากๆ ถึงขนาดก้าวเท้าไม่ออกก็ม่
  • แพทย์เจ้าของไข้ให้รอดูความคืบหน้าอีก 1 สัปดาห์ เพื่อดูอาการว่า ควรให้ทำการฝึกต่อหรือครจำหน่ายออก
  • วันหยุดสุดสัปดาห์ ผู้เขียนไปตรวจรับการรักษาที่ศูนย์ฝึกแห่งที่ 2 เพื่อเตรียมไว้หากจำเป็นต้องออกจากศูนย์แรก โดยระหว่างนี้จะไปฝึกทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป รวม 4 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง ดังนี้
    • ฝึกการเดินด้วยหุ่นยนต์ 30 นาที
    • ฝึกกายภาพบำบัด 60 นาที
    • ฝึกกิจกรรมบำบัด (การฝึกใช้มือและนิ้ว) 60 นาที

สัปดาห์ที่ 8 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • แรงบีบมือเพิ่มขึ้นเป็น 20 กิโลกรัม หรือเท่ากับเด็กผู้ชายอายุ 11 ขวบ
  • อาการแขนเกร็งยังไม่ดีขึ้น ทำให้การเดินติดขัดไปด้วย
  • พี่เลี้ยงคนใหม่มาทำงานแล้ว ผู้เขียนจึงเริ่มฝึกเดินในระยะทางที่ไกลขึ้น คือ เดินจากตึกกายภาพบำบัด ถึงหอพักผู้ป่วย ระยะทางประมาณ 150 เมตร ซึ่งครั้งแรกใช้เวลาเดินนานถึง 20 นาที หรือเท่ากับ 450 เมตร/ชั่วโมง ซึ่งช้าจนไม่สามารถฝึกเดินบนสายพานได้ เพราะสายพานปรับความเร็วต่ำสุดได้เพียง 1 กิโลเมตร/ชั่วโมง เท่านั้น
  • แพทย์เจ้าของไข้พบเห็นผู้เขียนเดินฝึกโดยบังเอิญ จึงเห็นว่ายังมีอาการเกร็งที่แขนอยู่มาก จึงจะให้ลาลดเกร็ง และจะปรึกษาคณะแพทย์เพื่ออาจให้ทำการฝึกได้จนครบกำหนดของศูนย์ฝึกแห่งนี้ คือ 3 เดือน
  • วันหยุดสุดสัปดาห์ไปฝึกที่ศูนย์แห่งที่ 2 ซึ่งได้ติดต่อนัดหมายไว้ คือ
    • ฝึกเดินหุ่นยนต์ครั้งที่ 1 แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจวิธีการเดินที่ถูกต้อง
    • กายภาพบำบัด มีเวลาเพียง 1 ชั่วโมง จึงทำได้เพียงการเคลื่อนไหวข้อต่อ และฝึกท่าเดิน
    • กิจกรรมบำบัด มี 6 กิจกรรม กิจกรรมละ 10 นาที เช่น ปั่นจักรยานมือ หยิบลูกบอล ฯลฯ ซึ่งมีเวลาสั้นเกินไปเช่นกัน

สัปดาห์ที่ 9 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • วันศุกร์เป็นวันที่มีกิจกรรมพิเศษของศูนย์ ดังนั้นในอาทิตย์นี้จึงจะมีวันฝึกจริง 3.5 วัน
  • แรงบีบมือเพิ่มขึ้นเป็น 22 กิโลกรัม หรือเท่ากับเด็กผู้ชายอายุระหว่าง 11-12 ขวบ
  • ให้ทานยาลดเกร็ง ซึ่งเห็นผลในทันที ทำให้การเดินจากตึกกายภาพบำบัด ถึงหอพักผู้ป่วย ใช้เวลาเพียง 10 นาที
  • เย็นวันศุกร์เข้าไปติดต่อศูนย์ฝึกฯแห่งที่ 2 เพื่อปรึกษาเรื่องการฝังเข็ม และการขอเข้าเป็นผู้ป่วยในเพื่อทำกายภาพบำบัด ซึ่งแพทย์ได้จองคิวให้ โดยได้คิวที่ 20 ซึ่งอาจจะต้องรอเป็นเวลาอีก 3-4 เดือน
  • วันหยุดสุดสัปดาห์ไปฝึกที่ศูนย์ที่ 2 เป็นครั้งที่สอง
  • การฝึกเดินหุ่นยนต์ครั้งที่ 2 เริ่มเข้าใจขั้นตอนการเดินได้ดีขึ้นขึ้น โดยเร่งจังหวะการยกเท้าข้างที่ไม่มีแรงให้เร็วขึ้นอีกเล็กน้อย คือ ให้เริ่มยกเท้าข้างที่ไม่มีแรงทันทีที่ข้อเท้าด้านนั้นเผยอขึ้นจากพื้น เนื่องจากกล้ามเนื้อซีกดังกล่าวยังไม่มีแรงเท่ากับคนปกติ จึงต้องให้สมองสั่งการให้เคลื่อนไหวในจังหวะที่เร็วกว่าปกติเล็กน้อย
  • ส่วนการฝึกกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดอย่างละ 1 ชั่วโมง ก็ยังรู้สึกไม่เพียงพอเหมือนเดิม 

สัปดาห์ที่ 10 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ฝึกเดินระหว่างหอผู้ป่วยึงโรงฝึกทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง และเพิ่มถุงทรายถ่วงน้ำหนักที่ข้อเท้าซ้ายและขวาข้างละ 2 ปอนด์
  • .........
  • วันหยุดสุดสัปดาห์ ฝึกหุ่นยนต์ครั้งที่ 3 ครั้งนี้เข้าใจขั้นตอนการเดินในจังหวะงอเข่า ยกเท้า เตะเท้า ได้ชัดเจนมากขึ้นมาก

สัปดาห์ที่ 11 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • วันศุกร์เป็นวันอาสาฬหบูชา สัปดาห์นี้จึงมีเวลาฝึกจริง 3.5 วัน
  • ต้นสัปดาห์วัดแรงบีบมือได้ 26 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับเด็กผู้ชายอายุประมาณ13 ขวบ
  • กลางสัปดาห์ท้องเสียอย่างรุนแรงติดต่อกัน 2 วัน ทำให้ไม่สามารถฝึกได้อย่างเต็มที่
  • ......
  • ......
  • วันหยุดสุดสัปดาห์เป็นวันหยุดยาวติดต่อกัน 4 วัน จึงใช้เวลาในการเตรียมข้อมูลเพื่อทำเว็บไซต์ และไม่ได้ฝึกออกกำลังกายที่บ้านมากนัก

สัปดาห์ที่ 12 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • วันจันทร์เป็นวันหยุดชดเชยวันเข้าพรรษา วันศุกร์เป็นวันจัดกิจกรรมพิเศษของศูนย์ฯ สัปดาห์นี้จึงมีเวลาฝึกจริงเพียง 2.5 วัน
  • แรงบีบมือ ลดจาก 26 กิโลกรัม เหลือเพียง 13 กิโลกรัม รู้สึกช็อคมาก สาเหตุคาดว่าสัปดาห์ก่อนมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน และสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ จึงไม่ได้ทำการฝึกอย่างเต็มที่เหมือนที่ผ่านมา
  • สัปดาห์นี้จึงพยายามออกกำลังกายแขนและมือให้มากขึ้น โดยการยกตุ้มน้ำหนัก เพื่อเรียกแรงบีบให้กลับคืนมา แต่กลับเป็นผลเสีย เพราะทำให้ท้องแขน (บริเวณที่เบ่งกล้าม) เกิดอาการเกร็งอย่างรุนแรง งอศอกและกางศอกลำบาก
  • แพทย์ฉีดยาลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งยานี้มีผล 3 ชั่วโมง ทำให้ขยับแขนได้คล่องขึ้น และสั่งห้ามออกกำลังกายแขนในท่าที่จะทำให้ท้องแขนเกร็งหรือตึงอีก โดยแพทย์จะตรวจอาการอีกครั้งในสัปดาห์หน้า หากอาการเกร็งยังไม่ดีขึ้นจะฉีดยาตัวใหม่ ซึ่งจะลดอาการเกร็งได้นานถึง 3 เดือน
  • แพทย์แจ้งว่าจะให้ออกจากศูนย์ฯ ประมาณวันที่ 16 สิงหาคม คืออีก 3 สัปดาห์หน้า เนื่องจากครบกำหนด 3 เดือน โดยให้ไปคิดคำตอบว่าต้องการจะย้ายไปฝึกต่อที่อื่น หรือจะเป็นคนไข้นอกและเข้ารับการฝึกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งที่โรงพยาบาลเดิมต่อไป
  • ปลายสัปดาห์ได้รับแจ้งจากศูนย์ฯแห่งที่ 2 ว่า ห้องที่จองไว้ใกล้จะว่างแล้ว สามารถเข้าเป็นผู้ป่วยในเพื่อฝึกกายภาพบำบัดได้ใน 2 สัปดาห์หน้า คือตั้งแต่วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม เป็นต้นไป
  • จึงจำเป็นต้องตัดสินใจออกจากศูนย์แห่งแรกเร็วกว่ากำหนด เพื่อไม่ให้คิวหลุด เพราะถ้าคิวหลุดไปแล้ว จะไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าจะถึงคิวครั้งต่อไปเมื่อไร
ระยะฟื้นฟู


     อาการพิการจากโรคเส้นเลือดสมอง ส่วนใหญ่จะฟื้นฟูได้ดีที่สุดในช่วงไม่เกิน 3-6 เดือนแรกนับจากวันที่ป่วย แต่หลังจากนั้นการฟื้นฟูก็จะถดถอยลงมาก

     ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูของประเทศไทย จะกำหนดระยะเวลามาตรฐานในการให้การบำบัดรักษาไว้ไม่เกิน 1.5 - 3 เดือน ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยเส้นเลือดสมอง ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากต้องออกจากศูนย์ฯ แม้ว่าจะยังอยู่ในระยะฟื้นฟู และยังมีความสามารถในการฟื้นฟูได้อีกก็ตาม

     สัปดาห์สุดท้ายที่ผู้เขียนจะออกจากศูนย์ฝึกแห่งนี้ มีผู้ป่วยย้ายเข้ามาใหม่รายหนึ่ง โดยย้ายมาจากศูนย์ฯที่ผู้เขียนกำลังจะเข้าไปฝึกในสัปดาห์หน้า

     หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ
  • เมื่อผู้ป่วย A ครบกำหนดที่ศูนย์ 1 ก็จะย้ายไปศูนย์ 2
  • ส่วนผู้ป่วย B เมื่อครบจากศูนย์ 2 ก็จะย้ายไปศูนย์ 1
    สาเหตุคือ ผู้ป่วยเหล่านี้ล้วนต้องการฟื้นฟูอาการพิการให้กลับมาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายในเวลาที่จำกัด (ระยะฟื้นฟูคือ 3-6 เดือน) ดังนั้น ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแต่ละแห่ง จึงควรคัดกรองผู้ป่วย และพิจารณาเรื่องพัฒนาการในระยะฟื้นฟูเป็นตัวกำหนด แทนที่จะใช้เวลามาตรฐาน 1.5 - 3 เดือนมาเป็นตัวกำหนดเช่นปัจจุบัน


สัปดาห์ที่ 13 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • แรงบีบมือเพิ่มกลับขึ้นมาเป็น 21 กิโลกรัม ทำให้ลดความกังวลลงได้มาก
  • ฝึกหุ่นยนต์ครั้งที่ 4 คงเป็นเพราะเริ่มคุ้นเคยวิธีเดินแล้ว จึงไม่ค่อยมีความรู้สึกว่าเป็นการฝึกสอน แต่เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งมากกว่า
  • ....

สัปดาห์ที่ 14 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่จะฝึกที่ศูนย์แห่งนี้ รวมเวลาฝึกทั้งสิ้น 12 สัปดาห์
  • แรงบีบมือวัดได้ 20 กิโลกรัม ซึ่งไม่ต่างกับอาทิตย์ที่แล้ว เพราะยังไม่กล้าออกกำลังกายมือมากนัก
  • อาการเกร็งแขนลดลงไปมาก ทำให้เดินคล่องขึ้น
  • สรุปโปรแกรมการฝึกในแต่ละวันของผู้เขียนในช่วงเดือนสุดท้าย ดังนี้
    • ปั่นจักรยานเท้า 15 นาที
    • ปั่นจักรยานมือ 15 นาที
    • กระตุ้นไฟฟ้าเพื่อฝึกงอข้อมือ 20 นาที
    • กระตุ้นไฟฟ้าเพื่อฝึกกระดกข้อมือ 20 นาที
    • กระตุ้นไฟฟ้าเพื่อฝึกงอข้อเท้า 20 นาที
    • เตะถุงทราย* ข้างละ 250 ครั้ง (ขาซ้ายถ่วงน้ำหนัก 8 ปอนด์ / ขาขวาถ่วงน้ำหนัก 9 ปอนด์)
    • ยืนทรงตัวบน Balance Ball 5 นาที
    • เคลื่อนไหวข้อต่อซีกบน + เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อแขน 30 นาที (แขนซ้ายถ่วงน้ำหนัก 3 ปอนด์ / แขนขวาถ่วงน้ำหนัก 7 ปอนด์)
    • เคลื่อนไหวข้อต่อซีกล่าง + เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อขา 30 นาที (ขาซ้ายถ่วงน้ำหนัก 7 ปอนด์ / ขาขวาถ่วงน้ำหนัก 9 ปอนด์)
    • ดึงยางยืด 100 ครั้ง เพื่อออกกำลังสะบักซ้าย
    • ฝึกเดิน 150 เมตร x 2 รอบ หรือ 3 รอบ (ถ่วงน้ำหนักขาซ้ายและขวาข้างละ 2.5 ปอนด์)
    • ดัดข้อมือและนิ้วมือ เพื่อคลายอาการเกร็ง และออกกำลังมือและนิ้ว โดยใช้ putty* 30 นาที
    • ฝึกการใช้มือและนิ้วโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ 60 นาที
  • เย็นวันสุดท้าย เดินจากโรงบำบัดมาถึงตึกผู้ป่วย ระยะทาง 150 เมตร ใช้เวลาเพียง 6 นาที จากที่ครั้งแรกเคยใช้เวลาถึง 20 นาที
  • 12 สัปดาห์ที่ฝึกที่ศูนย์ฯแห่งนี้ ได้รับคำแนะนำ การดูแลเอาใจใส่ และความเป็นมิตร จากแพทย์ พยาบาล ครูฝึก และเจ้าหน้าที่ทุกๆท่านเป็นอย่างดี ขอกล่าวคำขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยความจริงใจ
  • ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยทุกคนที่ยังต้องทำการบำบัดที่ศูนย์แห่งนี้ ให้มีสุขภาพแข็งแรงหายวันหายคืน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้องป๊อป น้องบอล น้องอุ้ม และน้องโยโย่ พี่ขอเอาใจช่วย และขอให้น้องๆ ทั้ง 4 คนประสบแต่สิ่งดีๆในชีวิตตลอดไป

สัปดาห์ที่ 15 : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งที่ 2
  • บันทึกการทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดในศูนย์ฯแห่งที่ 2 อยู่ในหัวข้อ "บันทึกการฟื้นฟู (2)"

27 ความคิดเห็น:

  1. รบกวนสอบถามคะ อยากรบกวนสอบถามว่า ศูนย์ฟื้นฟูอยู่ที่ไหนคะและสามารถคิดต่อได้อย่างไรคะ คุณพ่อมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกแบบเดียวกับคุณน้าเลยคะ (ขออนุญาตเรียกคุณน้านะคะ) ขอขอบพระคุณล่วงหน้าคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ11 มกราคม 2560 เวลา 20:42

      ขอตอบทางอีเมล rehab2554@hotmail.com ครับ

      ลบ
    2. ขอทางอีเมล joyja2t@hotmail.com หรือ 089-6044151

      ลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ19 เมษายน 2560 เวลา 12:06

    คุณพ่อก็เป็นอัมพาตซีกซ้ายค่ะ เป็นมาเข้าสู่เดือนที่ 7 แล้วค่ะ ปัจจุบันแกอยู่ศูนย์ แต่เหมือนอยู่ไปวันๆ เพราะที่ศูนย์ก็เหมือนดูแลไปวันๆ การทำกายภาพของเขาคือการนวดผู้ป่วยธรรมดา แรกที่คุณพ่อออก รพ แล้วย้ายมานี่ อาการแกข้อต่อต่างๆ ยังไม่แข็ง แต่ปัจจุบันนี้อาการข้อต่อแข็งไปหมด ลักษณะของแขนคืองอแล้วทาบหน้าอกตลอดเวลา นิ้วมือก็หงิกและบวม ไม่สามรถจะยืดออกได้ เมื่อไหร่็ตามที่ไปสัมผัส แค่สัมผัสนะคะ แกก็จะร้องลั่น ส่วนหนึ่งคือตัวแกไม่ยอมให้ทำอะไรเลย แกขออยู่ไปวันๆ แกบอกแบบนี้ค่ะ แกบอกว่ามันเจ็บปวดมาก โดยปกติก่อนที่แกจะป่วย แกก็เป็นคนลักษณะไม่ออกกำลังกายอยู่แล้วค่ะ ปัจจุบันนี้แค่ใส่แพมเพิสหรือเอาแกขึ้นมานั่ง ใส่เสื้อก็ทำไปด้วยความยากลำบากค่ะ คุณน้าพอมีข้อแนะนำบ้างไหมคะ ว่าจะยังพอมีโอกาสฟื้นฟูไม่ให้มันแย่ไปมากกว่านี้ไหมคะ รบกวนช่วยตอบด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
    a_mh@hotmail.com

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ19 เมษายน 2560 เวลา 12:39

    ขอตอบทางเมล์นะครับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ5 กันยายน 2560 เวลา 10:25

    ขอตอบด้วยครับควรระวังพวกนักกายภาพที่จ้างมาด้วยครับพวกนี้จะเลี้ยงไข้คุณเพื่อให้ดูดเงินได้นานๆ
    และที่รพจะมีพวกที่หวังดีอยากให้คุณหายจากโรคมาขายยาพวกสมุนไพร ใช้แล้วไม่ได้ผลวิธีไล่พวกนี้ไปให้บอกว่าให้เข้าไปหาหมอด้วยกันและอธิบายว่ายาตัวนี้ดีอย่างไรครับแค่นี้พวกมันกก็จะอึ้งพูดต่อไม่ได้เลยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ17 ตุลาคม 2560 เวลา 16:26

      ขอตอบคุณที่ตอบ วันที่ 5 กันยายน 2560 10.25
      การทำกายภาพบำบัดมันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ ขึ้นกับการพัฒนาของโรคและความรุนแรงของโรคคนไข้ที่เป็น ไม่มีใครเลี้ยงไข้คนไข้ได้ค่ะ

      ลบ
  5. อยากว่าศูนย์ฟื้นฟูอยู่ที่ไหนและสามารถติดต่อได้อย่างไรบ้างคะ nnt2822@gmail.com

    ตอบลบ
  6. อยากทราบว่าที่ไหนค่ะติดต่อยังไงค่ะ
    รบกวนตอบด้วยค่ะ oraphit12@gmail.com

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ13 ธันวาคม 2560 เวลา 17:13

    อยากทราบว่าศูนย์ฟื้นฟูอยู่ที่ไหนค่ะ
    รบกวนด้วยค่ะ Gominew@gmail.com

    ตอบลบ
  8. คุณแม่อายุ 66 เส้นเลือดในสมองแตกที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา เพิ่งออกจาก รพ เมื่อวันที่ 18 ธันวา แต่คุณหมอยังไม่อนุญาตให้บินกลับไทยจนครบสองอาทิตย์ ตอนนี้ซีกซ้ายไม่มีแรง (ขามีแรงมากกว่ามือ) ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ตอนนี้เริ่มมีอาการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ขาแล้ว ผมกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการฟื้นฟู และกายภาพ เมื่อกลับไปถึงไทยแล้วอยากเริ่มกระบวนการฟื้นฟูเลย รบกวนขอคำแนะนำเรื่องสถานที่และวิธีการด้วย จักเป็นพระคุณมากครับ

    ait_itsara@hotmail.com

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ26 เมษายน 2561 เวลา 13:11

    อยากทราบว่าศูนย์ฟื้นฟูอยู่ที่ไหนบ้า่งคะ แล้วเสียค่าใช้จ่ายอย่างไร คุณพ่อเส้นเลือดในสมองตีบ ตั้งแต่วันที่ 15-3-61 ข้างซ้ายค่ะ อีเมลตอบกลับ rewadee5313@hotmail.com

    ตอบลบ
  10. คนไข้มีปัญหาด้านการสื่อสารคะ การเดินยังทรงตัวไม่ดีคะ ศูนย์ฟื้นฟูอยู่ที่ไปนคะ

    ตอบลบ
  11. แม่อายุ73เป็นมา7เดือนแล้ว เดินได้โดยไม้เท้าแต่ไม่คล่อง มือยังไม่สามารถใช้งานได้ อยากทราบว่าพอจะมีทางให้มือกลับมาใช้งานได้บ้างมั๊ยคะ

    ตอบลบ
  12. ขอทราบชื่อศูนย์ฟื้นฟูหน่อยครับ น้องผมเป็นเส้นเลือดตีบในสมองอ่อนแรงซีกซ้าย ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2561 ตอนนี้เริ่มหัดเดินได้ แต่มือและแขนยังบังคับให้ขยับไม่ได้เลยครับ รบกวนตอบทาง email: chakkritj@gmail.com ด้วยครับ

    ตอบลบ
  13. ขอทราบชื่อศูนย์ฟื้นฟู รวมทั้งค่าใช้จ่าย การติดต่อ ด้วยครับ คุณแม่มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกครับ ขอบคุณครับ ขอให้หายเร็วๆ ครับ
    email:ropn000@gmail.com

    ตอบลบ
  14. ขอขอบพระคุณผู้เขียนมากๆค่ะ ตอนนี้พี่ชายกำลังตกอยู่ในสถานะการเดียวกันกับผู้เขียนเลยค่ะ พี่ชายได้กำลังใจเยอะมากจากบทความนี้ ตอนนี้ผู้เขียน กลับมาใช้ร่างกายฝั่งที่เป็นได้ร้อยเปอร์เซ็นรึยังค่ะ

    ตอบลบ
  15. ขอทราบชื่อศูนย์ฟื้นฟูด้วยคนค่ะ และมีที่ไหนบ้างคะ
    แม่เป็นเส้นเลือดสมองตีบ อ่อนแรงซีกขวาค่ะ รบกวนข้อมูลด้วยค่ะ uorawa@kku.ac.th

    ตอบลบ
  16. ขอทราบชื่อศูนย์ฟื้นฟูด้วยคนค่ะ ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่คะ. คุณพ่อเป็นเหมือนคุณเลย. อยู่บ้านไม่ยอมทำกายภาพบำบัดเอง. แต่ถ้าไปหาหมอ เก่งมาก กลุ้มใจสุด สุด. ติดต่อมาให้ได้นะค่ะ. yuishop@gmail.com

    ตอบลบ
  17. อยากทราบที่อยู่สถานที่ค่ะ

    ตอบลบ
  18. ขอทราบที่อยุ่ด้วยคนคะ คุณแม่เพิ่งเป็น ได้ไม่กี่เดือน อยากให้หายมากๆคะ maii_23@hotmail.com

    ตอบลบ
  19. ขอทราบศูนย์ฟื้นฟู อยู่ที่ไหนค่ะ แฟนเพิ่งป่วยค่ะ ผ่าตัดสมอง แล้ว อ่อนแรงซีกซ้าย ค่ะ p.tidsuban@gmail.com

    ตอบลบ
  20. ขอทราบที่อยู่ และเบอร์ติดต่อหน่อยค่ะ รบกวนด้วยนะคะ tuckchppp@gmail.com

    ตอบลบ
  21. อยากทราบผมศูนย์ฟื้นฟูครับค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ครับvictor2210023@gmail.comผมเส้นเลือดในสมองแตกได้สองเดือนครับ

    ตอบลบ
  22. อยากทราบว่าศูนย์ฟื้นฟูอยู่ที่ไหนค่ะ
    patcharees209@gmail.com

    ตอบลบ
  23. คุณลุงเป็นอัมพฤกครึ่งซีก พุดไม่ได้ ต้องทำไงบ้างค่ะ ศูนย์อยุ่ที่ไหนค่ะ
    Mynameapplecute789@hotmail.com

    ตอบลบ
  24. เก่งมากครับ ผมก็สมองตีบแต่เป็นน้อย จะเอาวิธีคุณไปลองทำครับ

    ตอบลบ